วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บในกรณีต่างๆ
การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ

การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ
การปฐมพยาบาล คือ การช่วยเหลือขั้นต้นแก่ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการล้มป่วยอย่างกะทันหันปัจจุบันทันด่วน โดยการใช้สิ่งต่างๆเท่าที่จะหาได้ในขณะนั้นเพื่อให้ผู้บาดเจ็บรอดชีวิตอยู่ได้ หรือยังมีอาการเดิมไม่ทรุดลงหรือหายป่วยหรือทุเลาได้เร็วขึ้น แล้วรีบนำส่งสถานพยาบาลที่มีอุปกรณ์ เครื่องมือและบุคลากรที่สามารถให้การรักษาที่ดีต่อไป ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์ดังที่กล่าวไปแล้ว

หลักในการปฐมพยาบาล
เนื่องจากอุบัติเหตุมักทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ในหลายอวัยวะ ซึ่งมีความรุนแรงและอันตรายต่างกัน หัวใจสำคัญของการปฐมพยาบาลคือการเรียงลำดับความสำคัญของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อให้การปฐมพยาบาลในการบาดเจ็บที่รุนแรงก่อน ดังนี้
1. การช่วยเหลือด่วนที่สุด เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้มีชีวิตรอดหรือเพื่อรักษาชีวิต
- การช่วยหายใจ
- การช่วยนวดหัวใจ
- การช่วยห้ามเลือดจากบาดแผลภายนอก
2. การช่วยเหลือด่วน เป็นการช่วยเหลือเพื่อป้องกันความพิการต่ออวัยวะต่างๆ ลดความรุนแรงของการ บาดเจ็บที่เกิดขึ้น
-การปกปิดแผลด้วยผ้าสะอาด
-การเข้าเฝือกชั่วคราว ( Emergency splints )
-การจัดท่าให้เหมาะสมก่อนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
3. การช่วยเหลือรอง เป็นการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บส่งสถานพยาบาลและการแจ้งข่าว
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ปฐมพยาบาล
1. ต้องควบคุมสติอารมณ์ให้สงบ
2. ต้องให้กำลังใจแก่ผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวอยู่
3. ต้องตรวจตราสิ่งต่างๆต่อไปนี้
- ความปลอดภัยของผู้บาดเจ็บและการเข้าไปช่วยเหลือ
- การหายใจ การตกเลือดและระดับความรู้สติของผู้บาดเจ็บ
4. ต้องขอความช่วยเหลือต่างๆ

การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ช็อก
ผู้บาดเจ็บที่ช็อกเกิดได้หลายสาเหตุแต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเสียเลือด การปฐมพยาบาลควรทำดังนี้
1. ห้ามเลือดจากบาดแผลภายนอก
2. จัดท่าให้ผู้บาดเจ็บนอนราบ หัวต่ำ ยกขาขึ้นสูงกว่าลำตัว
3. รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
การปฐมพยาบาลบาดแผลภายนอก
บาดแผลภายนอก จะเห็นได้ชัด การปฐมพยาบาลจะไม่ยุ่งยากมากนัก โดยมีจุดประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อทำให้บาดแผลสะอาด โดยการล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากๆแล้วใช้ผ้าสะอาดปิดและพันไว้

2. เพื่อห้ามเลือด ซึ่งมี 3 วิธีง่ายๆดังนี้
-การพันผ้าให้แน่น จะใช้ได้ดีถ้าเลือดที่ออกมาจากหลอดเลือดดำ
-การใช้ผ้าสะอาดวางบนแผลและใช้ฝ่ามือหรือนิ้วกดไว้ จะใช้ได้ดีถ้าเลือดที่ออกจากเส้นเลือด แดง
-การขันชะเนาะ การใช้เชือกหรือผ้ารัดบริเวณเหนือต่อบาดแผลแล้วขันให้แน่นพอที่ทำให้ เลือดหยุดไหลได้แต่ไม่ควรแน่นมาก เพราะอาจทำให้เส้นประสาทถูกทำลายได้ และควร คลายทุกๆ 30 นาทีเพื่อป้องกันการขาดเลือดไปเลี้ยง

การดูแลรักษาบาดแผลภายนอก
1.ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำเกลือล้างแผล ( Irrigation )
2.ห้ามเลือดที่บาดแผล ( Stop bleeding )
3.การตกแต่งบาดแผล ( Debridement )
-ตัดเอาเนื้อที่ตายและชอกช้ำมาก ๆ ออก
-ตัดเอาเนื้อที่แม้ยังไม่ตายแต่เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ และคิดว่าถ้าปล่อยเอาไว้คงจะตายออก
-ตัดเนื้อที่มีสิ่งสกปรกติดอยู่มาก ไม่สามารถจะเอาสิ่งสกปรกออกได้โดยวิธีอื่นออก
-ขอบแผลที่กระรุ่งกระริ่งเมื่อเย็บเข้าหากันแล้วจะมีแผลเป็นที่น่าเกลียด ควรเจียนให้เรียบ
-ขอบแผลชอกช้ำ ถ้าเย็บเข้าหากันจะติดได้ไม่ดี ควรตัดออก
4.การซ่อมแซมส่วนที่ฉีกขาด
-ผิวหนัง (Skin ) การตัดตกแต่งต้องดูบริเวณที่เป็นบาดแผลด้วย ไม่ตัดออกมากเกินไปจน เย็บไม่ได้หรือเย็บแล้วตึงเกินไป
-ไขมัน( Fat ) สามารถตัดออกได้แต่ต้องระวังเลือดออกเพราะมักจะออกได้มากและนาน
-พังผืด ( Fascia ) ไม่ควรตัดออกมากเกินความจำเป็น
-กล้ามเนื้อ (Muscle ) ถ้าตายแล้วต้องตัดทิ้งหากไม่ฉีกขาดมากไม่จำเป็นต้องเย็บ แต่ถ้าขาด ตามขวางของใยกล้ามเนื้อควรเย็บเข้าหากัน
-เอ็น( Ligament and tendon ) ถ้าขาดบางเส้นใยอาจไม่ต้องเย็บซ่อม แต่ถ้าขาดหมดทั้ง เส้นต้องเย็บซ่อมโดยหาส่วนต้นที่ขาดให้พบและเย็บต่อดังเดิมโดยห้ามตัดออกมากเกินความ จำเป็น
-เส้นประสาท (Nerve ) ถ้าเป็นเส้นใหญ่และมีหน้าที่มากถ้าเสียไปจะมีผลเสียต่อการเคลื่อน ไหวต้องเย็บซ่อมโดยผู้ชำนาญ
-เส้นเลือด ( Vessels ) ถ้าเป็นเส้นเล็กอาจผูกเพื่อห้ามเลือด ถ้าเป็นเส้นใหญ่และไม่มีแขนง อื่นมาร่วมเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นต้องเย็บซ่อมโดยผู้ชำนาญ

การปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
1. ล้างด้วยน้ำสะอาดมากๆและห้ามลอกตุ่มใสออก
2. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบหรือใช้ถุงพลาสติกสะอาดใส่น้ำแข็งวางตรงบริเวณบาดแผล เพื่อลดอาการ ปวดแสบปวดร้อนและลดการอักเสบ
ข้อบ่งชี้ในการรับผู้ป่วย Burn รักษาในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่จะต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล คือผู้ป่วยที่จัดอยู่ใน Modurate and Majer Burns ได้แก่
1.Moderate burns
- Second degree burns 15 - 25 % ในผู้ใหญ่ หรือ 10 - 20 % ในเด็ก
- Third degree burns 2 - 10 %
2.Major burns
- Second degree burns มากกว่า 25 % ในผู้ใหญ่ หรือ 20 % ในเด็ก
- Third degree burns มากกว่า 10 %
- แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกของตา หู หน้า มือ เท้า และบริเวณหัวหน่าว
- ผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มี Inhalation injury ร่วมด้วย
- ผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกจาก High - voltage electrical injury
- ผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีกระดูกหัก หรือการบาดเจ็บรุนแรงอย่างอื่นร่วมด้วย
- ผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่เป็น Poor - risk group
โดยทั่วไปแล้วการให้สารน้ำทดแทนทางเส้นเลือดจะเริ่มให้ในผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกมากกว่า 15 - 20 % ของผิวหนังทั้งหมดในผู้ใหญ่และมากกว่า 10 - 15 % ในเด็ก

การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บกระดูกหักและข้อเคลื่อน 
การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บกลุ่มนี้ที่สำคัญคือ การดามส่วนที่ได้รับบาดเจ็บโดยใช้ Splint
Splint คือ อุปกรณ์ที่วางไว้ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านของส่วนของร่างกาย เพื่อทำหน้าที่ Immobilization , Protection , Supportive and Correction ต่ออวัยวะส่วนนั้น ๆ โดยอาศัยการยึดติดกับอวัยวะนั้น ๆ ด้วย Elastic bandage , สายเข็มขัด หรืออุปกรณ์อื่น ๆ
Splint สามารถทำได้จากสารหลาย ๆ อย่าง เช่น ไม้ , อลูมิเนียม , เฝือกปูน หรือพลาสติกแข็ง Splint ที่ดีควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.พอเหมาะพอดีกับส่วนที่ได้รับอันตราย
2.สะอาดและจัดทำได้เร็ว
3.ปรับง่าย
4.สามารถพยุงส่วนนั้นได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
5.ปรับตามรูปร่างของส่วนของร่างกายได้ง่าย
6.น้ำหนักเบา
7.ไม่แพง
8.ให้ความพึงพอใจด้านความสวยงามแก่ผู้ป่วย
9.สะดวกในการใช้
10.ไม่มีผลกดทับต่อเนื้อเยื่ออื่น


     การปฐมพยาบาล แผลช้ำ
                        
 ควรประคบบริเวณช้ำด้วยความเย็น เพื่อทำให้เส้นเลือดตีบไม่มีเลือดไหลออกมาอีก 
                                         ไม่ควรเคลื่อนไหวบริเวณที่มีแผลช้ำ เพราะการเคลื่อนไหวมาก ๆ จะทำให้เลือดออกอีกได้
                                         อีก 24 ชั่วโมง ให้ใช้ความร้อนประคบเพื่อให้เส้นเลือดขยายตัว ช่วยลดอาการช้ำ 

      
การปฐมพยาบาลแผลแยก     ในกรณีมีบาดแผลผิวหนังถลอก   ควรปฏิบัติ  ดังนี้
                                        
 ใช้น้ำสะอาดล้างแผลแล้วซับให้แห้ง
                                         ใช้ยาทาแผลสดทาให้ทั่วบริเวณที่ถลอก
                                         ไม่ต้องปิดบาดแผล ถ้าแผลนั้นไม่อยู่ในตำแหน่งที่สกปรกหรือถูกน้ำได้ง่าย

     การปฐมพยาบาลแผลแยก      ในกรณีมีบาดแผลเปิดมีเลือดออกมาก   ควรปฏิบัติ  ดังนี้
                                        
 ถ้ามีการเลือดออกมากจะต้องห้ามเลือดเสียก่อน แล้วตรวจดูชนิดของบาดแผล
                                         ถ้ามีอาการช็อคหรือเป็นลม   ควรรักษาอาการช็อคหรือเป็นลมเสียก่อน
                                         ถ้าบาดแผลมีเลือดแข็งตัวอุดปากแผลอยู่อย่าดึงหรือแกะออกเพราะจะทำให้เลือดออกมาอีกได้
                                         ไม่ควรล้างแผลด้วยตนเอง เพราะเลือดจะออกมากขึ้น และแผลอาจติดเชื้อได้ง่าย
                                          แล้วรีบนำส่งแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

ข้อควรจำ     เมื่อเกิดบาดแผลทุกชนิด   เราควรต้องไปรับการฉีดยาป้องกันบาดทะยักทุกครั้ง
    การปฐมพยาบาลเมื่อหมดสติ   เป็นลม  ช็อค 
                      ภาวะการหมดสต    นั้นเกิดมาจากหลายสาเหตุ   ดังนั้นการช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก    จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความ       รู้ความสามารถที่จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ ซึ่งมีหลักควรปฏิบัติดังนี้
                                             ตรวจดูในปากว่ามีสิ่งอุดตันทางเดินหายใจหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบนำออกโดยเร็ว
                                             จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสม โดยให้ผู้ป่วยนอนตะแคงคว่ำไปด้านใดด้านหนึ่ง
                                             คลายเครื่องนุ่งห่มให้หลวม และห้ามให้น้ำหรืออาหารทางปาก 
                                             ถ้ามีอาการชักให้ใช้ ผ้าม้วนเป็นก้อนสอดระหว่างฟันบนกับฟันล่างเพื่อกันผู้ป่วยกัดลิ้นตนเอง
                                             ทำการห้ามเลือดในกรณีที่มีเลือดออก ถ้ามีอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
        
เป็นลมคือ อาการหมดสติเพียงชั่วคราว เนื่องจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เกิดจากหลายสาเหตุ  เช่น    เหนื่อยหรือร้อนจัด,  หิวหรือ        เครียด   ควรให้การปฐมพยาบาล ดังนี้
                                                
 นำเข้าพักในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
                                                  ให้นอนราบ   และคลายเสื้อผ้าให้หลวม
                                                  ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดเหงื่อที่หน้าผาก   มือ  และเท้า
                                                  ให้ผู้ป่วยดมแอมโมเนีย


ข้อสังเกต ถ้าใบหน้าผู้ที่เป็นลมขาวซีด ให้นอนศีรษะต่ำ ถ้าใบหน้ามีสีแดงให้นอนศีรษะสูง
อาการช็อค  หมายถึง    สภาวะที่เลือดไม่สามารถนำออกซิเจน   ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ   ทั่วร่างกายให้เพียงพอได้       ส่วนใหญ่การเสียเลือดจะเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดอาการช็อคได้   
การช่วยเหลือผู้ป่วยควรทำ   ดังนี้
                                     นำเข้าพักในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
                                     ให้นอนราบไม่ต้องหนุนศีรษะ และควรนอนยกปลายเท้าสูง ในช่วง   30   นาทีแรกเท่านั้น 
                                     คลายเสื้อผ้าให้หลวม และทำการห้ามเลือดในกรณีที่มีบาดแผลเลือดออก
                                     ห้ามให้อาหารและน้ำทางปาก ควรสังเกตุการหายใจเป็นระยะๆ
                                     รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

 บาดแผลที่เกิดจาก ไฟไหม้  น้ำร้อนลวก
            บาดแผลลวก  คือ แผลที่เกิดจากความร้อน  เช่น
                                   ความร้อนจากเปลวไฟหรือไฟไหม้
                                   ความร้อนจากไอน้ำเดือดหรือของเหลวร้อน
                                   ความร้อนจากสารเคมี
                                    ความร้อนจากกระแสไฟฟ้าดูด หรือฟ้าผ่า
                                    ความร้อนจากรังสี ต่าง ๆ 
            อาการที่ได้รับ  คือ ปวดแสบปวดร้อน  ผิวหนังแดงพอง หรืออาจเป็นรอยไหม้เกรียมในกรณีที่ถูกรังสีมาก ๆ  และควรระวังผู้ป่วยที่ถูกไฟฟ้าดูดซึ่งอาจเกิดสภาวะหยุดหายใจได้ ต้องรีบผายปอดทันทีจนกว่าผู้ป่วยจะหายใจเองได้
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยแผลลวก   ควรปฏิบัติ  ดังนี้...
                           ถอดหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
                           แต่ถ้าบางส่วนติดแน่นกับผิวหนังไม่ควรดึงออก
 
                    ควรใช้น้ำเย็นราดบริเวณผิวหนังที่ถูกความร้อน เพื่อลดความร้อนที่จะไปทำลายผิวหนัง 
                      ถ้าปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งวางประคบตรงบริเวณแผลหรือ 
                       ปิดด้วยผ้าก๊อสเพื่อป้องกันมิให้ถูกอากาศภายนอก
                               ใช้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือ ขี้ผึ้ง วาสลิน ทาบนผ้าก๊อสปิดบริเวณแผล
 
                       ถ้าถูกสารเคมีต้องรีบล้างสารเคมีนั้นออกจากผิวหนังด้วยน้ำสะอาดโดยเร็วที่สุด
                        ถ้ากระหายน้ำให้ดื่มน้ำเล็กน้อย และไม่ควรให้น้ำเย็นจัด
                              ถ้ามีอาการมากต้องรีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว

การปฐมพยาบาลเมื่อถูกสัตว์มีพิษกัด ต่อย
      งู เป็นสัตว์มีพิษ ที่เราพบเห็นกันบ่อยในชีวิตประจำวันซึ่งงูแต่ละชนิดจะมีพิษมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของงูนั้น ๆ  ในปัจจุบันนี้หากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธี   ก่อนให้แพทย์ทำการฉีดเซรุ่ม    ผู้ป่วยก็รอดชีวิตได้   ดังนั้นก่อนที่ผู้ป่วยจะไปถึงมือแพทย์   ควรได้รับการปฐมพยาบาล อย่างถูกต้องเสียก่อนเมื่อเราพบผู้ป่วยที่ถูกงูกัด ก่อนอื่น ต้องตรวจดูรอยเขี้ยวงูเสียก่อน    
    ถ้ากรณีที่งูมีพิษกัด รอยเขี้ยวจะมีลักษณะเป็นแผลลึก 2 รอย และบาดแผลมีลักษณะเขียวช้ำ ให้รีบปฏิบัติ ดังนี้ 
การปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกงูพิษกัด
                                
  ใช้เชือก ผ้า หรือสายยางรัดบริเวณเหนือแผล   ระหว่างแผลกับหัวใจให้แน่น
                                   บีบหรือคัดเลือดบริเวณบาดแผลออก เพื่อให้พิษงูออกมาทางบาดแผลได้บ้าง
                                   ห้ามให้ดื่มสุราหรือใช้ยากระตุ้นหัวใจเป็นอันขาด เพราะจะทำให้พิษงูเข้าสู่หัวใจเร็วขึ้น
                                   พยายามอย่าให้ผู้ป่วยหลับ ควรปลุกให้รู้สึกตัวเป็นระยะ ๆ
                                   ล้างแผลด้วยด่างทับทิมแก่ ๆ หรือจะใช้ด่างทับทิมปิดที่ปากแผลก็ได้
                                   รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที หากทราบชนิดของงูที่กัดได้จะเป็นการสะดวกในการฉีดเซรุ่ม

 สุนัขกัด                                              
       เมื่อถูกสุนัขทั่วๆไปกัด การช่วยเหลือคือรีบล้างบาดแผลด้วยน้ำสะอาด เพื่อล้างน้ำลายและสิ่งสกปรกออกจากบาดแผลแล้วจึงทำแผลใส่ยา ให้รับประทานยาแก้ปวดถ้าเกิดอาการปวดที่บาดแผล และควรไปรับการฉีดยาป้องกันบาดทะยักด้วยกรณีที่ถูกสุนัขบ้ากัด ถ้ายังไม่แน่ใจว่าสุนัขที่กัดนั้นเป็นบ้าหรือไม่ ควรนำสุนัขนั้นขังไว้ประมาณ 10 วันเพื่อสังเกตอาการ 

ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกสุนัขบ้ากัด

                                    ใช้น้ำสะอาดล้างบาดแผลมาก ๆ และฟอกสบู่เพื่อล้างน้ำลายของสุนัขออกให้หมด
                                     ใช้ยาฆ่าเชื้อโรคเช็ดบริเวณแผลและทำแผลให้เรียบร้อย
                                     รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการฉีดยาป้องกันบาดทะยักและโรคพิษสุนัขบ้า

แมงป่อง และตะขาบกัด
        แมงป่อง และตะขาบที่เราพบเห็นมีอยู่หลายชนิดบางชนิดก็มีพิษร้ายแรง ถ้าถูกกัดจะมีอาการบวมแดง อักเสบและปวดมาก อาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและเกิดอาการชักได้
ให้รีบปฏิบัติดังนี้
                             ใช้เชือกรัดบริเวณเหนือบาดแผล เพื่อป้องกันไม่ให้พิษซึมเข้าสู่กระแสเลือด
                             บีบเลือดออกจากบาดแผลพอประมาณ เพื่อช่วยรีดพิษออกจากร่างกายได้
                             ใช้สำลีชุบแอมโมเนียหอมทาที่แผล และถ้ามีอาการปวดให้ยาแก้ปวดได้ 
                            ถ้าแผลบวมใช้ถุงน้ำแข็งประคบ เพื่อบรรเทาอาการได้

การลำเลียง และการเคลื่อนยายผู้ป่วย
ในการปฐมพยาบาลจะต้องมีการประเมินสภาพการบาดเจ็บและต้องดำเนินการให้การปฐมพยาบาลก่อนที่จะทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเจ็บอย่างไรก็ตามในสภาวะที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต ทั้งของผู้ที่ทำการช่วยชีวิตและผู้ป่วยเจ็บในขณะนั้น ชีวิตและ/หรือความปลอดภัยของผู้ป่วยเจ็บนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการในการช่วยชีวิตและการเคลื่อนย้ายก่อนที่จะทำการปฐมพยาบาลหรือให้การรักษาต่อไป การปฏิบัติการช่วยชีวิตจะต้องทำอย่างรวดเร็วและปลอดภัย การปฏิบัติด้วยความสะเพร่าหรือรุนแรงเกินไปในระหว่างให้การช่วยเหลือ จะยิ่งทำให้การบาดเจ็บรุนแรงมากขึ้น
เหตุผลสำคัญในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย มี 2 ประการ
1.       อาการของผู้ป่วยไม่ปลอดภัยจำเป็นต้องรีบนำส่งรพ.
2.       สถานการณ์ในที่เกิดเหตุไม่ปลอดภัย เช่น ผู้ป่วยติดอยู่ในกองเพลิงหรือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถชนกลางถนนมีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปในที่ปลอดภัยหากมีอุบัติเหตุที่อาจทำให้มีการบาดเจ็บของไขสันหลัง เช่น ผู้ป่วยตกจากที่สูง หรืออุบัติเหตุรถชน จะต้องมีการดามกระดูกสันหลังก่อนเสมอ
ก่อนจะทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะต้องแก้ไขส่วนที่บาดเจ็บก่อน 
-  ถ้าผู้ป่วยมีบาดแผลต้องทำการห้ามเลือดก่อน
-  ถ้าผู้ป่วยมีกระดูกหัก จะต้องดามกระดูกก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยบาดเจ็บมากขึ้นในระหว่างการเคลื่อนย้าย
หลักการที่จะต้องยึดถือเสมอเมื่อจะทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย คือ
1.       อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ยกเว้นอาการไม่ปลอดภัยหรือสถานการณ์ที่เกิดเหตุไม่ปลอดภัย
2.       ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง โดยไม่ได้ดามกระดูกก่อน
3.       ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยที่ยังไม่ได้แก้ไขส่วนที่บาดเจ็บ
4.       ห้ามทิ้งผู้ป่วยที่หมดสติอยู่เพียงลำพัง เพราะผู้ป่วยจะแย่ลงเมื่อไรก็ได้
5.       ห้ามทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บมากขึ้น
6.       ห้ามทำในสิ่งที่ไม่รู้หรือไม่แน่ใจ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าควรจะทำอย่างไร อย่าตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ไม่รู้โดยเด็ดขาด

กฎในการยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
        การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีหลายวิธี แต่หลักการเหมือนกันทุกวิธี คือ
1.       บอกเล่าแผนการกับผู้ที่มาช่วยว่าจะทำอะไร ที่สำคัญคือต้องบอกผู้ป่วยด้วยว่าจะทำอะไรกับเขาบ้าง
2.       ประมาณกำลังที่จะยกผู้ป่วย ถ้าไม่แน่ใจว่าจะยกไหวต้องหาคนช่วยให้มากพอ ห้ามลองยกเด็ดขาด เพราะผู้ป่วยจะได้รับอันตราย
3.       ห้ามทำหลังงอเวลายก เพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกหลังเคลื่อนทำให้ปวดหลัง หรือเสียวแปลบตามเส้นประสาท ต้องให้หลังตรงเสมอ
4.       เวลายกผู้ป่วยต้องงอขา และหนีบแขน กำมือที่จับผู้ป่วยให้แน่นให้มือและแขนอยู่แนบลำตัวมากที่สุด จะทำให้ได้แรงมาก
5.       ต้องยกผู้ป่วยโดยให้ตัวเราอยู่ในสมดุล น้ำหนักจะได้ลงที่ศูนย์กลางลำตัว ทำให้ออกแรงได้เต็มที่ และผู้ยกเองปลอดภัย จะไม่เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
6.       ต้องทำด้วยความละมุนละม่อมที่สุด เราต้องการให้คนอื่นปฏิบัติต่อเราอย่างไร  ก็ควรปฏิบัติเช่นนั้นต่อผู้อื่นด้วย

การจัดท่าผู้ป่วยเจ็บ
        การลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยมือเปล่าถือเป็นท่าเบื้องต้นในการช่วยชีวิตผู้ป่วยเจ็บถ้าผู้ป่วยเจ็บรู้สึกตัวดีเขาจะเป็นผู้บอกเราเองว่าเขาควรจะอยู่ในท่าใดและจะเคลื่อนย้ายได้อย่างไร นี่คือวิธีการที่จะลดความกลัวของผู้ป่วยเจ็บต่อการที่เขาจะต้องมีการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยเจ็บจะให้ความร่วมมือกับเรามากขึ้นส่วนความจำเป็นที่จะพลิกตัวให้ผู้ป่วยเจ็บอยู่ในท่านอนหงายหรือนอนคว่ำนั้น ขึ้นอยู่กับรายละเอียดในการจัดท่าที่จะต้องใช้ในการลำเลียงเป็นหลัก
ก. การพลิกตัวผู้ป่วยเจ็บให้อยู่ในท่านอนคว่ำ : ผู้อุ้มนั่งคุกเข่าด้านข้างที่ไม่มีบาดแผลของผู้ป่วยเจ็บ
๑. ผู้อุ้มจับแขนของผู้ป่วยเจ็บให้อยู่เหนือศีรษะ  แล้วไขว้เท้าของผู้ป่วยเจ็บด้านไกลตัวผู้อุ้ม  ให้อยู่เหนือเท้าด้านใกล้ตัวของผู้อุ้ม
๒. ผู้อุ้มใช้มือจับไหล่ผู้ป่วยเจ็บด้านไกลตัว แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งจับบริเวณสะโพกหรือต้นขาของผู้ป่วยเจ็บ
๓. พลิกตัวผู้ป่วยเจ็บด้วยความระมัดระวังเข้าหาตัวผู้อุ้ม เพื่อให้ผู้ป่วยเจ็บอยู่ในท่านอนคว่ำ
ข. การพลิกตัวผู้ป่วยเจ็บให้อยู่ในท่านอนหงาย : ขั้นตอนการปฏิบัติทำเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่การพลิกตัวผู้ป่วยเจ็บให้อยู่ในท่านอนหงายนั้น จะต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่า การพลิกผู้ป่วยเจ็บให้อยู่ในท่านอนคว่ำ
          การลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยมือต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และถูกต้องตามวิธีการ มิฉะนั้นอาจทำให้ผู้ป่วยเจ็บได้รับอันตราย หรือทำให้การบาดเจ็บรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเจ็บจะต้องกระทำด้วยความสุขุมรอบครอบ และระมัดระวัง  ผู้ป่วยเจ็บจะต้องได้รับการปฐมพยาบาลก่อนที่จะมีการเคลื่อนย้าย แต่ในบางสถานการณ์ที่จะต้องมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเจ็บอย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะช่วยชีวิต ก็มีข้อยกเว้น เช่น ผู้ป่วยที่กำลังถูกไฟไหม้ในขณะที่อยู่ในรถยนต์  เป็นต้น  ในบางกรณี การลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยมือ ก็มีความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเข้าไปช่วยผู้ป่วยเจ็บ อย่างไรก็ตามแม้ว่าในการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยมือเปล่า สามารถกระทำได้โดยใช้หนึ่งคน หรือสองคนในการอุ้ม แต่ถ้ามีความเป็นไปได้ ควรใช้สองคนในการเคลื่อนย้าย เพราะจะทำให้เกิดความสะดวกสบายต่อผู้ป่วยเจ็บ สำหรับระยะทางในการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยมือไปได้ไกลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
๑. ลักษณะการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเจ็บ
๒. ความแข็งแรงและความอดทนของผู้ที่ทำการแบกหรืออุ้ม
๓. น้ำหนักของผู้ป่วยเจ็บ
๔. อุปสรรค หรือ สิ่งกีดขวาง ระหว่างการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บ
๕. ลักษณะของภูมิประเทศ
การลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยมือ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
                ๑. ท่าอุ้มเดี่ยว (One-man Carries)
                ๒. ท่าอุ้มคู่ (Two – man Carrier)
         ๑. ท่าอุ้มเดี่ยว (One-man Carries): เป็นการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บ โดยใช้ผู้อุ้ม ๑ คน โดยแบ่งตามลักษณะท่าอุ้มได้ ดังนี้
๑.๑  ท่าอุ้มแบก (Firemans carry) เป็นท่าอุ้มที่กระทำได้ง่าย ในการที่คนๆ หนึ่งจะเข้าไปอุ้มหรือแบกคนอื่น ท่านี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเจ็บที่หมดสติ หรือมีสติแต่เดินไม่ได้ สามารถอุ้มผู้ป่วยเจ็บไปได้ในระยะไกลๆ
ขั้นตอนการปฏิบัติ
๑.  หลังจากพลิกตัวผู้ป่วยเจ็บให้อยู่ในท่านอนคว่ำแล้ว    ผู้อุ้มยืนคร่อมตัวผู้ป่วยเจ็บ จากนั้นให้ยืดและสอดแขนทั้งสองข้างเข้าไปใต้หน้าอกของผู้ป่วยเจ็บ และยึดแขนทั้งสองข้างไว้ให้แน่น
๒. ผู้อุ้มยกผู้ป่วยเจ็บให้อยู่ในท่านั่งคุกเข่า โดยใช้มือประสานกันที่บริเวณหน้าอกผู้ป่วยเจ็บ
๓.  ต่อจากนั้นเคลื่อนตัวผู้ป่วยเจ็บมาข้างหลัง เพื่อให้ขาและเข่าของผู้ป่วยเจ็บตั้งตรง
๔.  ผู้อุ้มก้าวเดินไปข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บอยู่ในท่ายืนตรง เอียงตัวผู้ป่วยเจ็บเล็กน้อยมาทางข้างหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้เข่าโค้งงอ
๕.  ผู้อุ้มใช้มือข้างหนึ่งประคองผู้ป่วยเจ็บไว้ให้มั่นคง ปล่อยมืออีกข้างให้เป็นอิสระ แล้วรีบคว้าข้อมือของผู้ป่วยเจ็บอย่างรวดเร็ว พร้อมกับยกแขนของเขาให้สูงขึ้น ในขณะเดียวกันให้รีบสอดศีรษะผ่านเข้าไปใต้แขนข้างที่ยกขึ้นของผู้ป่วยเจ็บอย่างรวดเร็ว แล้วปล่อยแขนข้างทียกขึ้นของผู้ป่วยเจ็บลง
๖. เคลื่อนใบหน้าของผู้ป่วยเจ็บอย่างรวดเร็ว และเพื่อความปลอดภัย แขนข้างหนึ่งของผู้อุ้มจับไว้ที่รอบเอวของผู้ป่วยเจ็บ ในเวลาเดียวกันผู้อุ้มสอดเท้าเข้าไปอยู่ระหว่างขาทั้งสองข้างของผู้ป่วยเจ็บ และให้ขาของผู้ป่วยเจ็บกางออกห่างกันประมาณ ๖-๘ นิ้ว
 ๗. ผู้อุ้มคว้าข้อมือของผู้ป่วยเจ็บและยกแขนของเขาให้อยู่สูงเหนือศีรษะของผู้อุ้ม
๘. ผู้อุ้มโน้มตัวลงต่ำและดึงแขนข้างที่ยกสูง และข้างที่อยู่ต่ำวางบนไหล่ของตัวเอง พร้อมนำร่างของผู้ป่วยเจ็บวางข้ามผ่านไหล่ ในขณะเดียวกันให้สอดแขนผ่านเข้าไประหว่างขาของผู้ป่วยเจ็บ
๙. มือด้านหนึ่งของผู้อุ้มคว้าข้อมือของผู้ป่วยเจ็บไว้  และมืออีกข้างหนึ่งวางไว้บริเวณเข่าของตัวเองเพื่อใช้สำหรับพยุงน้ำหนัก
๑๐. ผู้อุ้มยกตัวผู้ป่วยขึ้นมา โดยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มืออีกข้างหนึ่งของผู้อุ้มปล่อยไว้ให้เป็นอิสระ เพื่อที่จะได้เอาไว้ใช้งานอย่างอื่นได้ 
หมายเหตุ :  ท่าอุ้มแบก (Firemans carry) มีวิธียกผู้ป่วยเจ็บขึ้นมาจากพื้น ได้อีกวิธีหนึ่ง (ดูภาพที่ ๑๓) การที่จะยกผู้ป่วยเจ็บด้วยวิธีนี้ จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้อุ้ม เห็นว่าผู้ป่วยเจ็บมีความปลอดภัย โดยต้องคำนึงถึงตำแหน่งบาดแผลของผู้ป่วยเจ็บด้วย เมื่อจะใช้การยกวิธีนี้ จึงต้องดูแลและป้องกันศีรษะของผู้ป่วยเจ็บจะหักกลับมาทางด้านหลัง ซึ่งเป็นสาเหตุให้บริเวณคอเกิดการบาดเจ็บได้ สำหรับขั้นตอนการแบกผู้ป่วยเจ็บ ทำเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
                ขั้นตอนการปฏิบัติ
๑.  ผู้อุ้มคุกเข่าอยู่ทางด้านศีรษะของผู้ป่วยเจ็บ โดยชันเข่าขึ้นข้างหนึ่งตั้ง พร้อมกับ
๒.  ผู้อุ้มลุกขึ้น พร้อมกับยกผู้ป่วยเจ็บ ให้อยู่ในลักษณะตั้งเข่าทั้งสองข้าง
จากนั้นยกให้ผู้ป่วยเจ็บอยู่ในท่ายืน
๑.๒ ท่าอุ้มพยุง (Supporting carry) 
ท่าอุ้มพยุงนี้ผู้ป่วยเจ็บจะต้องเดินได้ หรืออย่างน้อยต้องสามารถใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งได้ โดยมีอุ้มเปรียบเสมือนไม้ค้ำยันให้ ท่าอุ้มพยุงนี้สามารถช่วยลำเลียงผู้ป่วยเจ็บไปได้ในระยะไกล ๆ
ขั้นการปฏิบัติ
๑.  ผู้อุ้มยกผู้ป่วยเจ็บที่อยู่บนพื้น ให้อยู่ในท่ายืน โดยใช้วิธีการเช่นเดียวกับท่าอุ้มแบก (Firemans carry) 
๒.  ผู้อุ้มคว้าข้อมือของผู้ป่วยเจ็บ จากนั้นดึงแขนของเขาให้มาอยู่ที่รอบๆ คอ
๓.  ผู้อุ้มใช้มืออีกข้างหนึ่งโอบกอดเอวของผู้ป่วยเจ็บไว้  แล้วให้ผู้ป่วยเจ็บเดิน หรือค่อยๆ กระโดดขาเดียวไปเรื่อยๆ
๑.๓ ท่าอุ้มกอดหน้า (Arms carry)
ท่านี้มีประโยชน์มากในการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บในระยะใกล้ๆ (ระยะทางไม่เกิน ๕๐ เมตร)   เพื่อที่นำผู้ป่วยเจ็บไปหยุดรอยังสถานที่ที่จะนำเปลมารับผู้ป่วยเจ็บได้
ขั้นการปฏิบัติ
๑. ผู้อุ้มยกผู้ป่วยเจ็บจากพื้น ให้อยู่ในท่ายืน เช่นเดียวกับท่าอุ้มแบก (Firemans carry) 
๒. ผู้อุ้มสอดแขนข้างหนึ่งไว้บริเวณใต้เข่าของผู้ป่วยเจ็บ ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งสอดเข้าไปไว้รอบๆ แผ่นหลังของผู้ป่วยเจ็บ
๓. ผู้อุ้มยกผู้ป่วยเจ็บขึ้นสูงๆ ให้ส่วนหน้าอกของผู้ป่วยเจ็บแนบกับอกของผู้อุ้ม เพื่อจะทำให้ลดความล้าลงได้
หมายเหตุ : ท่านี้ห้ามใช้กับผู้ป่วยเจ็บที่สงสัยว่ามีกระดูกสันหลังหัก กระดูกขาหัก และ/หรือกระดูกเชิงกรานหัก
๑.๔ ท่าอุ้มกอดหลัง (Saddleback carry) ท่าอุ้มกอดหลัง ท่านี้ผู้ป่วยเจ็บต้องมีสติดี จึงจะสามารถลำเลียงได้ เพราะผู้ป่วยเจ็บต้องสามารถกอดคอของผู้ช่วยเหลือได้
ขั้นการปฏิบัติ
๑. ผู้อุ้มยกผู้ป่วยเจ็บขึ้นมาให้อยู่ในท่ายืน เช่นเดียวกับท่าอุ้มแบก (Firemans carry) 
๒. ผู้อุ้มพยุงผู้ป่วยเจ็บไว้ เลื่อนมือมาจับบริเวณข้อมือของผู้ป่วยเจ็บ ผู้อุ้มค่อยๆ เคลื่อนตัวมาบริเวณด้านข้างตัวผู้ป่วยเจ็บ ก้าวเท้าไปข้างหน้า โดยหันหลังให้ผู้ป่วยเจ็บ ดึงแขนของผู้ป่วยเจ็บมาไว้รอบคอของผู้อุ้ม  เคลื่อนตัวมาอยู่ด้านหน้าตัวผู้ป่วยเจ็บ จากนั้นพยุงตัวผู้ป่วยเจ็บให้มาอยู่บนหลัง
๓. แขนของผู้ป่วยเจ็บโอบไว้รอบคอของผู้อุ้ม
๔. ผู้อุ้มก้มตัวมาด้านหน้า พร้อมกับยกตัวผู้ป่วยเจ็บให้ขึ้นมาอยู่บนหลัง ประสานแขนทั้งสองข้างลงมาต่ำโดยให้อยู่บริเวณต้นขาของผู้ป่วยเจ็บ
            ๑.๕  อุ้มทาบหลัง (Pack-strap carry)
ท่าอุ้มทาบหลังนี้น้ำหนักของผู้ป่วยเจ็บเกือบทั้งหมดจะมาอยู่ที่บริเวณหลังของผู้อุ้ม เหมาะสำหรับการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บในระยะทางปานกลาง ( ๕๐-๓๐๐ เมตร) แต่ก็มีข้อจำกัดในผู้ป่วยเจ็บที่มีการบาดเจ็บบริเวณแขน เพราะท่านี้ ผู้อุ้มจะต้องจับแขนของผู้ป่วยเจ็บไว้ตลอด
ขั้นการปฏิบัติ
๑.  ผู้อุ้มยกผู้ป่วยเจ็บจากพื้นให้อยู่ในท่ายืน เช่นเดียวกับท่าอุ้มแบก (Firemans carry) 
๒. ผู้อุ้มใช้แขนพยุงตัวผู้ป่วยเจ็บ และคว้าข้อมือผู้ป่วยเจ็บไว้ใกล้ตัว
๓. ยกแขนทั้งสองข้างของผู้ป่วยเจ็บให้อยู่เหนือศีรษะ และให้แขนพาดผ่านไหล่ของผู้อุ้ม
๔. ผู้อุ้มเลื่อนตัวมาที่ด้านหน้าของผู้ป่วยเจ็บ ในเวลาเดียวกัน พยุงตัวผู้ป่วยเจ็บไว้ โดยให้น้ำหนักตัวของผู้ป่วยเจ็บอยู่บริเวณหลังของผู้อุ้ม
๕. ผู้อุ้มจับข้อมือของผู้ป่วยเจ็บไว้ โดยให้แขนทั้งสองข้างของผู้ป่วยเจ็บอยู่ในตำแหน่งที่พาดผ่านไหล่ของผู้อุ้ม
๖. ผู้อุ้มก้มตัวมาด้านหน้า พร้อมกับยกผู้ป่วยเจ็บให้สูงขึ้นมา โดยให้น้ำหนักตัวของผู้ป่วยเจ็บมาพักอยู่ที่บริเวณหลังของผู้อุ้ม
หมายเหตุ :  ห้ามใช้ท่านี้กับผู้ป่วยเจ็บที่สงสัยว่ามีกระดูกแขน ขา กระดูกสันหลัง หรือกระดูกเชิงกรานหัก
                ๑.๖ ท่าอุ้มโดยการใช้เข็มขัดปืนพก (Pistol-belt carry)  เป็นท่าอุ้มเดี่ยวที่มีประสิทธิภาพดีวิธีหนึ่ง ที่สามารถลำเลียงผู้ป่วยเจ็บได้ในระยะไกล ๆ (มากกว่า ๓๐๐ เมตร) ผู้ป่วยเจ็บมีความปลอดภัย เพราะจะถูกพยุงด้วยเข็มขัดไว้กับไหล่ของผู้อุ้ม เพราะแขนทั้งสองข้างของผู้อุ้ม และผู้ป่วยเจ็บ (กรณีที่รู้ตัวดี) มีอิสระที่จะถืออาวุธ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ หรือใช้ในการปีน ไต่ ข้ามสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ได้
                ขั้นตอนการปฏิบัติ
๑. จัดให้ผู้ป่วยเจ็บนอนหงาย นำเข็มขัดปืนพก ๒ เส้นมาต่อกัน (อาจจะใช้ ๒ เส้นก็ได้ถ้ามีความจำเป็น) ตำแหน่งของเข็มขัดปืนพกให้อยู่ที่ด้านใต้ต้นขา และบริเวณส่วนล่างของแผ่นหลังของผู้ป่วยเจ็บ เพื่อที่ทำเป็นห่วงออกไปทั้งสองข้าง
หมายเหตุ : กรณีที่หาเข็มขัดปืนพกไม่ได้ อาจจะใช้สายสะพายของปืน   ผ้าผูกคอสองผืน เข็มขัดหนัง หรือวัสดุอื่นๆ ที่เหมาะสม แต่ทั้งนี้วัสดุที่นำมาใช้จะต้องไม่บาดหรือผูกรัดผู้ป่วยเจ็บ
๒. แยกขาของผู้ป่วยเจ็บออกจากกัน ผู้อุ้มนอนหงายทับระหว่างขาของผู้ป่วยเจ็บ แล้วสอดแขนทั้งสองข้างเข้าไปในห่วงเข็มขัดที่ยื่นออกมา พยายามให้ห่วงเข็มขัดอยู่ในร่องไหล่พอดี
ผู้อุ้มพลิกตัวไปทางด้านที่ไม่มีการบาดแผลของผู้ป่วยเจ็บ โดยผู้อุ้มจะอยู่ในลักษณะของท่านอนคว่ำ และมีผู้ป่วยเจ็บนอนทับผู้อุ้มอยู่ด้านบน ปรับเข็มขัดให้เข้าที่และรัดกุม
๔.  ผู้อุ้มลุกขึ้นยืนในท่านั่งชันเข่า
๕. ผู้อุ้มใช้มือยันบนเข่า เพื่อพยุงตัวให้ลุกขึ้นในท่าตรง
๖.  ผู้อุ้มลำเลียงผู้ป่วยเจ็บไปได้  โดยสามารถใช้มือในการยิงปืน หรือปีน ไต่สิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคได้
๑.๗  ท่าอุ้มลากด้วยเข็มขัดปืนพก (Pistol – Belt Drag): ท่านี้เหมาะสำหรับใช้ในบริเวณเขตที่มีปะทะกับข้าศึก สามารช่วยลดอันตรายจากอาวุธเล็งตรงของข้าศึก เพราะทั้งผู้อุ้มและผู้ป่วยเจ็บสามารถหมอบอยู่ใกล้กับพื้นได้มากกว่าการลากด้วยท่าอื่นๆ เป็นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเจ็บได้ในระยะใกล้ ๆ (ประมาณ ๕๐ เมตร) เท่านั้น
ขั้นตอนการปฏิบัติ
๑. นำเข็มขัดปืนพกสองเส้นมาต่อกัน (หรือวัสดุอย่างอื่นที่คล้ายกัน เช่น สายสะพายปืน ผ้าสามเหลี่ยม หรือผ้าขาวม้า แทนได้) ขยายเข็มขัดให้ยาวเต็มที่
๒. พลิกตัวผู้ป่วยเจ็บให้อยู่ในท่านอนหงาย
๓. สอดเข็มขัดเส้นหนึ่งผ่านเข้าใต้รักแร้ของผู้ป่วยเจ็บทั้งสองข้าง อีกเส้นหนึ่งพาดบนหน้าอก (ลอดใต้แขนทั้งสองข้าง) จากนั้นนำปลายเข็มขัดทั้งสองข้างมาต่อกัน
๔.  ดึงเข็มขัดมาทางผู้อุ้ม จะทำให้เป็นห่วงพอที่จะสอดแขนเข้าไปได้
๕. จับแขนซ้ายของผู้ป่วยเจ็บวางพาดบนหน้าอก แล้วจับเข็มขัดบิดไขว้กัน โดยจับเส้นล่างทับเส้นบนตามเข็มนาฬิกา
๖. ผู้อุ้มเลื่อนตัวลงไปในห่วงเข็มขัด ให้ปลายห่วงอยู่ในร่องไหล่ และรักแร้พอดี
๗. ผู้อุ้มพลิกตัวนอนคว่ำ ส่วนไหล่ซ้ายของผู้ป่วยเจ็บจะทับอยู่บนส่วนหลังของผู้อุ้มเล็กน้อย
๘.  ผู้อุ้มคลานไปข้างหน้า ดึงและลากผู้ป่วยเจ็บไปด้วย
หมายเหตุ : ห้ามใช้กับผู้ป่วยเจ็บที่สงสัยว่ามีกระดูกคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน และกระดูกขาหัก
                ๑.๘  ท่าอุ้มลากด้วยคอ (Neck Drag): ท่านี้มีประโยชน์มากในเขตที่มีการปะทะกับข้าศึก เพราะผู้อุ้มสามารถลำเลียงผู้ป่วยเจ็บ โดยวิธีการคลานสี่เท้าผ่านกำแพง สิ่งกีดขวาง พุ่มไม้เตี้ยๆ ใต้ยานพาหนะ หรือท่อระบายน้ำ ได้เป็นอย่างดี ในกรณีที่ผู้ป่วยเจ็บหมดสติ จะต้องมีการป้องกันศีรษะให้พ้นจากพื้นดิน ท่าอุ้มลากด้วยคอนี้ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยเจ็บที่มีกระดูกแขนหักได้
ขั้นตอนการปฏิบัติ 
๑. ผู้อุ้มค่อยๆ คลานเข้าหาลำตัวผู้ป่วยเจ็บ แล้วขึ้นคร่อมตัวผู้ป่วยเจ็บ
๒. กรณีผู้ป่วยเจ็บมีสติดี ให้ผู้ป่วยเจ็บใช้มือทั้งสองข้างประสานกอดคอผู้อุ้มไว้ แล้วผู้อุ้มเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเจ็บไปข้างหน้าด้วยวิธีการคลานไป
หมายเหตุ : ถ้าผู้ป่วยเจ็บหมดสติ หรือไม่สามารถใช้มือกอดคอผู้อุ้มได้ ให้ใช้เชือก ผ้าพันแผล หรือผ้าสามเหลี่ยม ผูกข้อมือทั้งสองข้างของผู้ป่วยไว้ด้วยกัน ผู้อุ้มสอดศีรษะเข้าไประหว่างแขน ก็สามารถคลานลากผู้ป่วยเจ็บไปข้างหน้าได้
                ๒. ท่าอุ้มคู่ (Two – Man Carries):   จะใช้การลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยวิธีนี้ ต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บรู้สึกสบาย และจะช่วยให้อาการบาดเจ็บไม่รุนแรงเพิ่มขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งลดความเหนื่อยหล้าของผู้อุ้มด้วย ท่าอุ้มคู่ประกอบด้วย ๕ ท่า ดังนี้
                ๒.๑  ท่าอุ้มคู่พยุง (Two – Man Supporting Carry)
ท่าอุ้มคู่พยุงนี้สามารถลำเลียงผู้ป่วยเจ็บได้ทั้งผู้ที่รู้สึกตัวดี และผู้ป่วยเจ็บที่หมดสติ ถ้าผู้ป่วยเจ็บมีความสูงกว่าผู้อุ้ม ผู้อุ้มอาจจะต้องยกขาทั้งสองข้างของผู้ป่วยเจ็บ แล้วให้ผู้ป่วยเจ็บพักอยู่บนแขนของผู้อุ้มทั้งสอง
ขั้นตอนการปฏิบัติ
๑. ผู้อุ้มทั้งสองช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเจ็บยืนด้วยขาของเขาเอง พร้อมพยุงผู้ป่วยเจ็บโดยการจับบริเวณรอบๆ ข้อมือไว้
๒. ผู้อุ้มคว้าที่ข้อมือของผู้ป่วยเจ็บพร้อมกับเคลื่อนมือมาอยู่ที่บริเวณคอของผู้อุ้ม
๒. ๒ ท่าอุ้มคู่กอดหน้า (Two – Man Arms Carry) : ท่านี้เหมาะสำหรับการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บที่ต้องใช้ระยะทางปานกลาง ( ๕๐-๓๐๐ เมตร) เพื่อที่จะนำผู้ป่วยเจ็บลำเลียงด้วยเปลต่อไป ผู้อุ้มต้องยกผู้ป่วยเจ็บให้อยู่สูงและแนบกับหน้าอก ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เราไม่สามารถหาแผ่นกระดานสำหรับรองบริเวณหลังของผู้ป่วยเจ็บที่ได้รับอันตรายที่กระดูกสันหลังได้ ท่าอุ้มคู่กอดหน้าเป็นท่าที่ปลอดภัยในการใช้ลำเลียงผู้ป่วยเจ็บที่มีอาการบาดเจ็บบริเวณหลังได้ สิ่งที่สามารถทำได้ก็คือ ผู้อุ้มทั้งสองคนจะต้องระมัดระวังบริเวณศีรษะและขาของผู้ป่วยเจ็บให้อยู่ในแนวเส้นตรงไว้กางแขนออก แล้วสอดแขนทั้งสองข้างเข้าไปใต้รักแร้ ผ่านบริเวณด้านหลังของผู้ป่วยเจ็บ
ขั้นตอนการปฏิบัติ
๑.  ผู้อุ้มนั่งคุกเข่าบริเวณด้านข้างตัวผู้ป่วยเจ็บ แล้วสอดแขนให้อยู่ใต้บริเวณหลัง เอว สะโพก และเข่าของผู้ป่วยเจ็บ
๒.  ผู้อุ้มยกตัวผู้ป่วยเจ็บขึ้นมาให้พร้อมกัน โดยวางตัวผู้ป่วยเจ็บให้อยู่บริเวณเข่าของผู้อุ้ม
๓. พลิกตัวผู้ป่วยเจ็บให้หันมาทางด้านหน้าอกของผู้อุ้ม
พร้อมกับยกผู้ป่วยเจ็บขึ้นมาอยู่ในท่ายืน ขณะทำการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บให้ยกตัวผู้ป่วยเจ็บขึ้นให้สูงเพื่อลดความเหนื่อยล้า
๒.๓  ท่าอุ้มคู่กอดหลัง (Two – Man Fore And Aft Carry):เป็นท่าอุ้มคู่ที่เหมาะสำหรับการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บไปในระยะทางไกล ๆ (มากกว่า ๓๐๐ เมตร) ผู้อุ้มทีมีความสูงให้อยู่ทางด้านศีรษะของผู้ป่วยเจ็บ ท่านี้มีประโยชน์ในการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บเพื่อส่งต่อให้เปลมารับต่อไป
ขั้นตอนการปฏิบัติ
๑.  ผู้อุ้มที่ตัวเตี้ยอยู่ทางด้านหน้าผู้ป่วยเจ็บ นั่งคุกเข่า พร้อมกับแยกขาของผู้ป่วยเจ็บแยกออกจากกัน สอดแขนทั้งสองข้างเข้าไปใต้เข่าของผู้ป่วยเจ็บ ผู้อุ้มอีกคนนั่งคุกเข่าอยู่ทางด้านศีรษะของผู้ป่วยเจ็บ สอดมือเข้าไปใต้แขนของผู้ป่วยเจ็บ ให้ผ่านหน้าอก พร้อมกับประสานมือทั้งสองข้างให้แน่น
๒.  ผู้อุ้มทั้งสองคนยกผู้ป่วยเจ็บขึ้นพร้อมๆ กัน แล้วลำเลียงผู้ป่วยเจ็บไปข้างหน้า
๒.๔ ท่าอุ้มคู่ประสานแคร่ (Four – Hand – Seat Carry) : เป็นท่าอุ้มที่ใช้กับผู้ป่วยที่มีสติดี เพราะผู้ป่วยเจ็บจะต้องช่วยพยุงตัวเอง โดยใช้แขนโอบไว้รอบๆ ไหล่ของผู้อุ้มทั้งสองคน การลำเลียงด้วยท่านี้เหมาะสำหรับใช้กับผู้ป่วยเจ็บที่มีบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือที่เท้า เป็นการลำเลียงในระยะทางปานกลาง ( ๕๐ ถึง ๓๐๐ เมตร) เป็นอีกท่าหนึ่งที่มีประโยชน์สำหรับการลำเลียงผู้ป่วยเพื่อส่งต่อไปยังบริเวณที่มีเปลมารับ
                ขั้นตอนการปฏิบัติ
๑.  ผู้อุ้มแต่ละคนใช้มือจับที่ข้อมือของตนเอง แล้วไปจับที่ข้อมือของผู้อุ้มอีกคน ทำให้มีลักษณะเป็นแคร่
๒.  ผู้อุ้มทั้งสองคนย่อตัวลงต่ำให้เพียงพอสำหรับให้ผู้ป่วยเจ็บนั่งลงมือที่ประสานไว้ จากนั้นให้ผู้ป่วยเจ็บใช้มือทั้งสองวางไว้บริเวณรอบๆ ไหล่ของผู้อุ้มทั้งสองเพื่อไว้ช่วยพยุง
ผู้อุ้มทั้งคนยกผู้ป่วยเจ็บขึ้นให้อยู่ในท่าตรง แล้วทำการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บต่อไป
๒.๕  ท่าอุ้มคู่จับมือ (Two – Hand – Seat carry)  : ท่านี้เหมาะสำหรับการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บเพื่อไปหาเปลในระยะทางใกล้ ๆ ให้ผู้ป่วยเจ็บอยู่ในท่านอนหงาย ผู้อุ้มนั่งคุกเข่าที่ด้านข้างของผู้ป่วยเจ็บ ตรงบริเวณสะโพก ผู้อุ้มแต่ละคนสอดแขนเข้าใต้บริเวณขาหนีบ และบริเวณหลังของผู้ป่วยเจ็บ พร้อมกับจับข้อมือของกันและกัน จากนั้นยกผู้ป่วยเจ็บขึ้นพร้อมกัน แล้วลำเลียงผู้ป่วยเจ็บต่อไป
 อุบัติเหตุหมู่
           ในสถานการณ์ภัยพิบัติหรืออุบัติเหตุหมู่ เมื่อท่านพบเหตุการณ์เช่นนั้นเป็นคนแรกควรปฏิบัติดังนี้
1.       ประเมินดูสถานการณ์ที่เกิดเหตุปลอดภัยหรือไม่ ถ้าไม่ปลอดภัยห้ามเข้าไปให้ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บรอจนกว่าเหตุการณ์นั้นจะปลอดภัยจึงจะเข้าไปให้การช่วยเหลือ
2.       เมื่อเข้าไปถึงตัวผู้ป่วยแล้วให้ตรวจสภาพผู้ป่วยอย่างคร่าว ๆ
3.       แจ้งขอความช่วยเหลือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในขณะแจ้งขอความช่วยเหลือ ตั้งสติให้ดี พูดให้ชัดเจน อย่าตื่นเต้น แล้วแจ้งข้อมูลดังนี้
-       สถานที่เกิดเหตุ
-       ซื่อผู้แจ้ง และบอกเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ
-       เกิดเหตุอะไร มีผู้บาดเจ็บกี่คน
1.       เข้าไปประเมินสภาพผู้ป่วยขั้นต้น โดย
-     ตรวจดูความรู้สึกตัว โดยการเรียกร้องหรือตีที่ไหล่เบาๆ
-     ตรวจดูทางเดินหายใจ
-     ตรวจดูการหายใจ
-     ตรวจชีพจร
-     ตรวจดูการบาดเจ็บ
1.       ให้การปฐมพยาบาล ถ้ามีบาดเจ็บเลือดออก ให้ห้ามเลือดก่อนหลังจากนั้นตรวจดูว่ากระดูกหักที่ใดบ้าง ให้ทำการดาม
2.       แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม
                 ในกรณีมีผู้บาดเจ็บหลายคนพร้อมกัน ควรทำการประเมินสภาพผู้ป่วยคร่าวๆ ทุกคนเพื่อทำการคัดแยก และพิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ โดยใช้แนวทางในการคัดแยกดังนี้
1.       แบ่งผู้บาดเจ็บออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
-       กลุ่มผู้บาดเจ็บที่เดินได้
-       กลุ่มผู้บาดเจ็บที่เดินไม่ได้
  2.กลุ่มผู้บาดเจ็บที่เดินได้ให้แยกไว้กลุ่มหนึ่ง ส่วนผู้บาดเจ็บที่เดินไม่ได้ให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
         กลุ่มผู้บาดเจ็บที่หมดสติ มีปัญหาเรื่องการหายใจ ซ็อค เสียเลือดมากไม่สามารถห้ามเลือดได้ มีแผลไฟไหม้ที่รุนแรงให้ถือว่าผู้บาดเจ็บกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นอันดับแรกส่วนที่เหลือนอกจากที่กล่าวไปแล้ว ให้ถือความสำคัญเป็นอันดับที่ 2
  3.กลุ่มที่เดินได้นั้นให้ลำดับความสำคัญเป็นอันดับ 3 และอันดับสุดท้าย ผู้ที่เสียชีวิตเพราะไม่จำเป็นต้องให้การรักษาพยาบาล

1 ความคิดเห็น:

  1. A free game with the most realistic edge titanium
    We've titanium athletics created a new titanium bolts version ridge titanium wallet of the game for Android. It features 3D graphics and a ton of realistic edge-to-edge physics. titanium ring Rating: 4.6 · ‎8,994 votes titanium mig 170 · ‎Free · ‎Game

    ตอบลบ